top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนBTS Breaking News

"สิ่งที่บอยแบนด์เกาหลีสามารถสอนเราเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ 4.0"

อัปเดตเมื่อ 18 ก.พ. 2563

กล่าวถึงการถึงโพลผู้อ่านของของนิตยสารอเมริกาอย่าง TIME ที่ BTS สามารถเอาชนะผู้แข่งขันอย่าง Planet Earth หรือประธานาธิบดีสหรัฐดอนัลด์ ทรัมป์ได้

แต่ BTS คือใคร? อืม...นอกจากปีที่ผ่านมาคุณจะไปอยู่หลังเขา (อย่างผม) คุณก็ไม่น่าจะถามคำถามนั้นถึง K-pop ที่ได้อันดับ 1 สองอัลบั้มบน Billboard Top 200 ชนะจัสติน บีเบอร์ในชาร์ต Top Social Artist of 2018 และเป็นศิลปินที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในโลก


ผู้เขียนแปลกใจในความสำเร็จระดับโลกของ BTS เพราะเพลงส่วนใหญ่ของพวกเขาร้องในภาษาเกาหลี ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตาม BTS ไม่ใช่กลุ่มเดียวที่ทำได้แบบนี้ ศิลปินลาตินอย่าง Fonsi (Despacito) และ Enrique Iglesias หรือศิลปินเกาหลีอย่าง Psy (Gangnam Style) ก็กำลังแสดงให้เห็นถึงการโลกาภิวัตน์ทางวัฒนธรรมที่ไม่ได้ทำให้เป็นแบบอเมริกัน (Americanization) เท่านั้นอีกต่อไปเช่นกัน

เขาเล่าย้อนไปถึงตอนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงช่วงปี 2000 ทิศทางของการโลกาภิวัตน์ทางวัฒนธรรมก็พุ่งเป้าไปยังจุดหมายเดียว นั่นคือภาษาอังกฤษและวัฒนธรรมอเมริกัน ขณะที่หลายประเทศในยุโรปกระทั่งช่วงทศวรรษที่ 1960 ยังคงได้รับอิทธิพลส่วนมากจากวัฒนธรรมฝรั่งเศสกระแสก็เริ่มแปรเปลี่ยนไปจากปี 1945 ทหารอเมริกันไม่เพียงมายุโรปเพื่อรบ แต่ยังเอาโคคา - โคล่า ดนตรีแจ๊ส และความชื่นชอบหนังฮอลลีวู๊ดมาด้วย ในทวีปอื่นๆก็เช่นกัน การเพิ่มขึ้นของอำนาจทางเศรษฐกิจและทางการเมืองของอเมริกากลายเป็นการเพิ่มขึ้นของอิทธิพลทางวัฒนธรรม

แท้จริงแล้วขณะที่สังคมเอเชียและยุโรปมุ่งไปที่การสร้างใหม่ วัฒนธรรมอเมริกันก็ครองโลก Elvis Presley, Frank Sinatra, Marvin Gaye, Aretha Franklin และ James Brown เป็นผู้เริ่มเทรนด์ หลายทศวรรษผ่านไปกลายเป็นมีเพียงชาวอังกฤษ หรือศิลปินที่ใช้ภาษาอังกฤษอย่าง The Beatles และ Rolling Stones เท่านั้นที่สามารถก้าวไปกับอเมริกันชนได้อย่างแท้จริง

ทุกวันนี้ ไม่อาจปฎิเสธได้ว่าวัฒนธรรมที่โดดเด่นของโลกคืออเมริกัน ภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดตลอดกาลทั่วโลกแทบจะไม่มีทางขาดภาพยนตร์จากฮอลลีวู้ด (เช่น Avatar, Titanic หรือ Star Wars) อัลบั้มขายดีสูงสุดตลอดกาลส่วนมากเป็นของอเมริกัน (แม้ว่าวงดนตรีของออสเตรเลีย AC / DC และวง Pink Pink Floyd ของอังกฤษจะก้าวขึ้นมาท้าชิง Michael Jackson ก็ตาม) บริษัทโซเชียลมีเดียและอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกัน และวัฒนธรรมอาหารที่ถึงแม้จะหลากหลายมากกว่า แต่ก็ยังคงได้รับผลกระทบจากแมคโดนัล โคคา-โคล่า สตาร์บัค และบริษัทเป็บซี่ วิวัฒนาการเหล่านี้จะเป็นไปไม่ได้หากปราศจากการเปิดกว้างทางโลกาภิวัตน์ของโลกเศรษฐกิจ และผลการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี อย่างเช่นช่วงปี 1960 การบินข้ามมหาสมุทรและการบันทึกวิทยุทำให้ The Beatles สามารถบินมาสร้างคลั่งไคล้ได้ในอเมริกา ทั้งช่วงปี 1990 และ 2000 การเปิดตลาดโลกและอินเทอร์เน็ตเปิดให้การตื่นรู้ทางวัฒนธรรมแพร่กระจายไปเร็วขึ้น

อย่างไรก็ตาม โลกาภิวัตน์ทางวัฒนธรรมมีราคาที่ต้องจ่าย หากมองในด้านภาษา นับแต่ยุคแรกของการโลกาภิวัตน์ ศตวรรษที่ 16 ยุคแห่งการค้นพบ จำนวนของภาษาที่มีการพูดกันทั่วโลกก็ลดต่ำลงเรื่อยๆจากราว 14,500 ภาษาก็ลดลงเหลือน้อยกว่า 7,000 ภาษา ปี 2007 จากรายงานของเดอะนิวยอร์กไทมส์ ครึ่งหนึ่งของ 7,000 ที่เหลืออยู่นั้นอยู่ในภาวะใกล้สาบสูญ และในปี 2017 WEF ก็เขียนถึงว่าเกือบ 1,500 ภาษามีผู้พูดเหลือน้อยกว่า 1,000 คน

องค์การยูเนสโกในฐานะที่เป็นองค์ด้านการการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมของสหประชาชาติชี้ไปที่การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (Rio+20) ว่าการหลอมให้วัฒนธรรมเป็นหนึ่งเดียวกันก่อให้เกิดความเสี่ยงอื่นๆด้วย โดยบอกว่า ในปี 2012 “ขณะที่ปรากฎการณ์นี้ส่งเสริมให้เกิดการผสานกันของสังคม แต่ก็อาจจะมาพร้อมกับการสูญเสียเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียอัตลักษณ์ การกีดกัน และแม้กระทั่งความขัดแย้ง” เกิดเป็นคำถามขึ้นว่า หรือชาวอเมริกากำลังปล่อยให้การโลกาภิวัตน์ทางวัฒนธรรมทำลายพวกเขาเองเหมือนระเบิดเวลาที่ถูกตั้งให้ฆ่าภาษา วัฒนธรรม และชีวิตมันเองอย่างเชื่องช้า กล่าวคือการโลกาภิวัตน์ทางวัฒนธรรมถูกมองว่าส่งผลเสียและเป๊นอันตราย อย่างไรก็ตามผลกระทบด้านบวกเองก็มีเช่นกัน เนื่องจากมีศิลปินที่โด่งดังมาจากแพล็ตฟอร์มบนอินเตอร์เน็ตอย่างยูทูปและทวิตเตอร์

โดยผู้เขียนบทความยกตัวอย่าง Luis Fonsi และ BTS ขึ้นมา ในกรณีของ Luis Fonsi กับเพลงฮิต Despacito เขาเป็นนักร้องเปอร์โตริโก้ที่ทำลาย 7 สถิติของกินเนสส์เวิลด์เรกคอร์ดส์ วิดีโอบนยูทูปของเขาเป็นวิดีโอแรกบนยูทูปที่มียอดวิวถึง 5 พันล้านวิวและเป็นเพลงที่มียอดสตรีมมากที่สุดทั่วโลก เขาแสดงให้เห็นถึงการมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมโลกผ่านภาษาสเปนและวัฒนธรรมคาริบเบียนซึ่งไม่น่าประหลาดใจอะไรหากพิจารณาว่ามีประชากรกว่า 437 ล้านคนที่พูดภาษาสเปนเป็นภาษาแม่ เมื่อเทียบกับผู้พูดภาษาอังกฤษจำนวน 372 ล้านคน



แต่ในกรณีของ BTS เขายิ่งทึ่งเข้าไปอีก เพราะในขณะที่ภาษาสเปน ภาษาจีนแมนดาริน และภาษาอังกฤษติดอันดับ TOP3 ภาษาที่มีคนพูดมากที่สุดทั่วโลก แต่ภาษาเกาหลีนั้นไม่แม้แต่จะติดอยู่ใน TOP10 ทั้งประมาณหนึ่งศตวรรษก่อนยังเป็นดินแดนที่โดดเดี่ยว (Hermit Kingdom) ทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ แม้กระทั่งตอนนี้เกาหลีก็ยังคงเศษเสี้ยวความโดดเดี่ยวนั้นไว้ ดูจากในกลุ่มเศรษฐกิจ G20 อย่างประเทศฝรั่งเศสและเยอรมัน เพลงที่ร้องเป็นภาษาอังกฤษนับแล้วมีเป็นเพลงฮิตจำนวนมากในปี 2017 

ขณะที่ในเกาหลีเพลงท็อปฮิตส่วนใหญ่ยังเป็นภาษาเกาหลี BTS เองก็ไม่มีข้อยกเว้น เพลงส่วนใหญ่ของพวกเขาส่วนมากร้องในภาษาเกาหลี และมีเนื้อเพลงบางส่วนเท่านั้นที่เป็นภาษาอังกฤษแต่กลับยังสามารถเป็นวงที่รับความสนใจในระดับโลกได้ ทั้งนี้ ความสำเร็จของพวกเขายังมาจากล่างขึ้นบน ด้วยการช่วยเหลือของแฟนๆมากมายที่อาสาช่วยเหลือแปลภาษา ใส่ซับในมิวสิควิดีโอและการแสดงของพวกเขาเป็นภาษาอังกฤษ แน่นอนว่าเราไม่สามารถสันนิตฐานว่าสิ่งใดเป็นจริงได้จากหลักฐานเป็นด้านเดียวที่เราพบเจอ ไม่ใช่เพียง Fonsi และ BTS เท่านั้นที่เปลี่ยนการโลกาภิวัตน์ทางวัฒนธรรมโดยลำพังแต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆด้วย เขายังเสริมว่า ถ้าหากบอยแบนด์จากดินแดนโดดเดี่ยว (Hermit Kingdom) หรือ BTS สามารถกลายเป็นบุคคลแห่งปี (จากโพลผู้อ่านของ TIME) ในเมืองหลวงทางเศรษฐกิจของโลกได้ โลกที่มีสังคมเอกวัฒนธรรม (Global Monoculture) ก็ยังอยู่อีกไกล


แปลสรุปจากบทความของ World Economic Forum

ดู 94 ครั้ง0 ความคิดเห็น

コメント


bottom of page